ฟ้ายังฟ้าอยู่

ฟ้ายังฟ้าอยู่
ฟ้ายังดูสดใส
Freefall is one of the most exciting, adrenaline-filled experiences you're likely to ever have. The feeling is different for everyone, so check out the testimonials from people just like you, with one exceptionthey've fallen towards the earth at 120 miles per hour!

Thursday, October 7, 2010

Advance โดดดิ่งพสุธา เกาะหมู่ 8,000 – 10,000 ฟิต


Skydiving 8,000 feet with instructors - (เกาะกับครูศรี)
 
ผมกับเพื่อนร่วมรุ่นบางคน ได้มีโอกาสขึ้นไปโดดดิ่งพสุธาบนชั้นความสูงมาก ๆ ของการฝึกนักโดดร่มใหม่ ด้วยการโดดเกาะหมู่กับครูฝึกดิ่งลงมาจากชั้นความสูง 8,000 – 10,000 ฟิต (ราว 2.4 – 3 ก.ม.) เหนือพื้นโลก ลงมาเปิดร่มที่ความสูงประมาณ 3,500 ฟิต เป็นประสบการณ์แปลกใหม่ที่ท้าทายยิ่งนัก
 
Skydiving 6,000 feet with instructors - (เกาะครูเชิด)
 
Skydiving 6,000 feet with instructors - (เกาะครูเชิด)
 
ขณะที่ผมยืนอยู่ที่แลมท้ายเครื่องบินที่ระดับความสูง 8,000 ฟิต (2.4 ก.ม.) หรือ 10,000 ฟิต  (3 ก.ม.)จากพื้นดินนั้น เมื่อมองโลกเบื้องล่างผ่านกลุ่มเมฆลงมาจะเห็นเป็นเพียงหย่อมสีต่าง ๆ  ตึกรามบ้านช่องแลดูกระจิริด  ส่วนรถรานั้นมองไม่เห็นแล้วครับ
AFF Skydiving 10,000 feet by M52
 
เมื่ออากาศยานเดินทางมาถึงจุดโดด (drop zone)  นักดิ่งพสุธาก็จะพุ่งทะยาน พร้อมกางแขนขา  แอ่นตัวเชิดศีรษะ ในท่า frog ดิ่งตัวลงสู่ความเวิ้งว้างของห้วงอากาศด้วยความเร็วที่ทวีคูณทุกขณะในช่วง 30 วินาทีนั้น  จนถึงความเร็วขีดสุดประมาณ 190กม/ชม.  ซึ่งเรียกว่า  “ความเร็วขั้นสุดท้าย”  (terminal velocity)
 
Skydiving 8,000 feet with instructors (พี่โอ๋)
 
เครื่องวัดความสูงที่ติดตัวนักดิ่งพสุธาจะบอกระดับความสูงในขณะดิ่งลงสู่พื้นดินในทุกวินาที  นักดิ่งพสุธาใหม่ ไม่ควรเปิดร่มต่ำกว่าความสูงประมาณ 3,000 – 3,500 ฟิต

โดดดิ่งพสุธา 6,000 ฟิต (ถ่วงเวลา 15 วินาที)

วันที่ 3 ส.ค. 2553  ในที่สุดผมผ่านด่านถ่วงเวลา 10 วินาทีได้ขยับขึ้นไปโดดที่ความสูง 6,000 ฟิต ถ่วงเวลาเปิดร่ม 15 วินาที  (จากเดิมตัดสายครั้้งแรกถ่วงเวลาแค่ 3 วินาที) 

back out 6,000 ฟิต (คนที่ 7)

ความรู้สึกตอนนี้ ความกลัว ความวิตกกังวล วิตกจริต ปลาสนาการไปแทบจะหมดสิ้นแล้ว  เหลือไว้แต่ความหฤหรรษ์ ความมัน  มีความรู้่สึกว่าเหมือนได้ปลดปล่อยอยู่ในจินตนาการ

Head down 6,000 ฟิต (คนที่ 5)


 

Head out 6,000 ฟิต (คนที่ 3)


Head out 6,000 ฟิต

Head out 6,000 ฟิต (คนที่ 1)

Head out 6,000 ฟิต (คนที่ 3)

Wednesday, October 6, 2010

โดดดิ่งพสุธา 5,000 ฟิต (ถ่วงเวลา 10 วินาที)

หลังจากผ่านการโดดที่ความสูง 4,000 ฟิต ถ่วงเวลา 5 วินาทีมาแล้ว  ในเช้าของวันที่ 30 ก.ค. 2553  ผมจะได้ขยับขึ้นไปโดดที่ความสูง 5,000 ฟิต ถ่วงเวลาเปิดร่ม 10 วินาที

โดดคนแรก ที่ความสูง 5,000 ฟิต

 

โดดคนที่ 7 ที่ความสูง 5,000 ฟิต

 

ครูฝึก  2 ท่าน

โดดดิ่งพสุธา 4,000 ฟิต (ถ่วงเวลา 5 วินาที)

วันเวลามีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนเรา 

วัน  เวลา  ทำให้เรารู้ว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเมื่อวัน  เดือน  ปีใด  เหตุการณ์ใดเกิดก่อน หลัง  เหตุการณ์ที่เกิดขิ้นหรือดำเนินอยู่ในช่วงเวลาที่ต่างกัน  มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร 
และวัน เวลาที่ผ่านไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
แต่คนเรามักไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเวลา…

โดดตัดสาย Static Line (คนที่ 2) ที่ความสูง 4,000 ฟิต ถ่วงเวลา 5 วินาที

23 ก.ค. 2553  เที่ยวบินที่ 2  ผมจะได้โดดดิ่งพสุธาที่ความสูง 4,000 ฟิต ถ่วงเวลาเพิ่มขึ้นจาก 3 วินาที เป็น 5 วินาที  อีก 2 วินาทีที่เพิ่มขึ้นในการถ่วงเวลาเปิดร่มนี้  สำหรับคนทั่วไป อาจมองดูว่าเป็นเพียงเศษเสี้ยวอันน้อยนิดกระจ้อยร่อยของเวลา


โดดตัดสาย Static Line (คนแรก) ที่ความสูง 4,000 ฟิต ถ่วงเวลา 5 วินาที

แต่สำหรับนักโดดร่มมือใหม่สมัครเล่นอย่างพวกเรา อีก 2 วินาทีที่เพิ่มขึ้น เป็นเวลาที่เพิ่มขึ้นอย่างเชื่องช้าและยาวนานมากทีเดียว  ความกลัวต่อความไม่รู้ เช่นเดียวกับการที่คนเรากลัวความมืดโดยไม่มีเหตุผลได้แวะเวียนเข้ามาเยือน ทักทายและเกาะกุมหัวใจผมอีกแล้ว

โดดตัดสาย Static Line (คนที่ 3) ที่ความสูง 4,000 ฟิต ถ่วงเวลา 5 วินาที

อย่างไรก็ตาม ไม่มีอะไรยากเกินความเพียรพยายาม ในที่สุด ผมทำได้  ทุก ๆ คนทำได้  ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ผมได้รู้ซึ้งถึงคุณค่าของเวลาอันน้อยนิดก็คราวนี้นี่เอง

Tuesday, October 5, 2010

โดดดิ่งพสุธา 4,000 ฟิต (ถ่วงเวลา 3 วินาที)

Skydiving

หลังจากโดดร่มต่อสาย Static Line ที่ความสูง 3,000 ฟิต มาแล้ว 2 วันรวม 5 ครั้ง ได้ดาวมาครบ 5 ดวง  ในที่สุดผมก็ผ่านการฝึกอีกขั้นหนึ่ง ถึงเวลาที่จะได้โดดร่มดิ่งพสุธา (Free Fall, Skydiving) โดยการเปิดร่มด้วยตัวเองจริง ๆ เสียที

คืนก่อนโดดตัดสาย ผมนอนไม่หลับ นอนกระสับกระส่ายพลิกไปพลิกมา วิตกจริต ผวาคิดแต่เรื่อง “โดดร่มตัดสาย” ตลอดทั้งคืน รู้สึกตัวตื่นขึ้นมาตอนดึกหลายรอบ  “จเร” เพื่อนรักของผมที่นอนอยู่ใกล้ ๆ กัน ก็มีอาการไม่ต่างกัน   ความรู้สึกกลัวกับความไม่รู้ กลัวสิ่งที่มองไม่เห็นมันมีอานุภาพรุนแรงทีเดียว  (เพื่อนร่วมรุ่นที่เรียนด้วยกันก็มีอาการเหมือนกันทุกคน)

ตอนบ่ายของวันที่ 22 ก.ค. 2553  เที่ยวบินที่ 3 ของวันนี้ จะเป็นครั้งแรกที่ผมจะได้โดดตัดสาย  ด้วยการดิ่งตกลงมาจากอากาศยานโดยไม่มีสาย Static Line  และต้องเปิดร่มด้วยตัวเอง  ซึ่งก็หมายถึง หากลืมเปิดร่ม หรือโดดลงมาโดยที่ไม่สามารถควบคุมสติอารมณ์ของตัวเองได้ ก็คงต้องลงไปนอนแอ้งแม้งอยู่กลางสนามโดดแน่นอน

โดดตัดสาย Static Line ครั้งแรก (โดดคนแรก) ที่ความสูง 4,000 ฟิต

ความสูงที่ผมจะได้โดดขยับจากเดิม 3,000 ฟิต ขึ้นไปโดดที่ความสูง 4,000 ฟิต ถ่วงเวลาเปิดร่ม 3 วินาที  ความสูงที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ทำให้รู้สึกกลัวเลยครับ  แต่ในทางกลับกันยิ่งทำให้มีความรู้สึกว่าปลอดภัยมากขึ้น  เพราะหากเกิดอุบัติเหตุร่มไม่กาง หรือกางไม่สมบูรณ์  ผมจะมีเวลาเพิ่มขึ้นจากความสูงที่เพิ่มขึ้นในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการดึงร่มช่วย หรือร่มสำรอง (reserv) ได้อย่างทันท่วงที

โดดตัดสาย Static Line ครั้งที่ 2 (โดดคนที่ 3) ที่ความสูง 4,000 ฟิต

นักเรียนฯ ต้องโดดตัดสาย Static Line ที่ความสูง 4,000 ฟิต ถ่วงเวลา 3 วินาที จำนวน 2 ครั้ง  หากสอบผ่านก็จะได้ขยับไปโดดที่ความสูงเท่าเดิมแต่ถ่วงเวลาเพิ่มขึ้นเป็น 5 วินาที

ถึงแม้จะโดดไป เสียวไป แต่ในที่สุดผมก็โดดผ่านทั้งสองครั้ง จะได้ขยับไปโดดที่ความสูง 4,000 ฟิต (เท่าเดิม) ถ่วงเวลาเพิ่มขึ้นเป็น 5 วินาทีในที่สุด

Monday, October 4, 2010

โดดครั้งแรก ต่อสาย Static Line (ตอนที่ 2)

จาก: โดดครั้งแรก ต่อสาย Static Line ตอนที่ 1
เพราะ หาก “ลืมเปิดร่ม”  นั่นก็หมายถึง ในโอกาสต่อไปหากนักโดดฯ โดดออกจากอากาศยานลงไปโดยไม่มีสาย Static Line นักโดดฯ ก็จะลืมเปิดร่มแล้วดิ่งตกถึงพื้นดินตัวเปล่านอนแอ้งแม้งอยู่บนสนามโดดร่มโดยที่ร่มไม่กางนั่นเอง


โดดต่อสาย Static Line ครั้งที่ 4 (คนที่ 2)

การโดดแต่ละครั้ง หากโดดรักษาท่าทางได้ถูกต้อง ครูฝึกจะให้ดาวครั้งละ 1 ดวง เขียนโชว์ขึ้นบนไวท์บอร์ด  หากไม่ผ่านก็จะไม่ได้ดาว  หลาย ๆ คนจึงต้องโดดมากกว่า 5 ครั้ง เพื่อให้ได้ดาวครบ 5 ดวง บางคนใกล้จะจบหลักสูตรแล้ว แต่ยังได้ดาวไม่ครบ 5 ครั้ง  ซึ่งอาจหมายถึง “ไม่สำเร็จหลักสูตร”



โดดต่อสาย Static Line ครั้งที่ 5 (คนแรก)


เมื่อได้ดาวครบ  5 ดวง โดยสามารถปฏิบัติท่าทางได้ครบถ้วนตามที่ฝึกมา ก็แสดงว่า นักเรียนฯ มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น สามารถควบคุมตนเองได้ และมีความพร้อมแล้ว  ในที่สุด ครูฝึกก็จะไว้วางใจให้นักเรียนผ่านการฝึกไปยังขั้นตอนต่อไป คือ “การโดดตัดสาย” โดยเพิ่มความสูงเป็น 4,000 ฟิต ถ่วงเวลาเปิดร่มด้วยตนเอง 3 วินาที

กว่าจะผ่านด่านการโดดต่อสาย Static Line ไปได้  เล่นเอาพวกเรานอนไม่หลับ จับไข้หัวโกร๋น เนื่องจากความเครียดความวิตกกังวลต่อเนื่องกันมาหลายวัน เวลานอนหลับก็ตื่นผวาขึ้นมาตอนกลางดึกหลาย ๆ รอบ บางคนถึงกับนอนละเมอ ความรู้สึกเหล่านี้ คือการกลัวในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง มองไม่เห็น  คล้าย ๆ กับกลัวความมืด กลัวความไม่รู้ หากผ่านด่านการโดดตัดสายครั้งแรกไปได้ ก็เปรียบเสมือนฉายแสงสว่างลงไปในความมืด ทำให้ความมืดมลายหายไป  พวกเราก็จะเป็นอิสระหลุดพ้นจากพันธนาการในที่สุด

Saturday, October 2, 2010

โดดครั้งแรก ต่อสาย Static Line (ตอนที่ 1)

โดดต่อสาย Static Line ครั้งแรก (คนที่ 1)

หลังจากผ่านการฝึกภาคพื้นดินมาแล้ว 3 สัปดาห์ (เนื่องจากในรุ่นของผม มีปัญหาขลุกขลักนิดหน่อยจากการที่ต้องรออะไหล่ล้อยางของเครื่องบินแบบ Skyvan ทำให้ต้องขยายการฝึกจากปกติ 1 สัปดาห์ ออกมาอีกเป็น 3 สัปดาห์นั้น) ทุกคนต่างมีความกระเหี้ยนกระหืออยากโดดร่มเต็มทีแล้ว  ในที่สุดเช้าวันที่ 21 ก.ค. 2553  ก็ได้เวลาที่พวกเราจะได้ฝึกภาคอากาศโดยการโดดออกจากเครื่องบินจริง ๆ เสียที


โดดต่อสาย Static Line ครั้งที่ 2 (คนที่ 2)


แต่เนื่องจากนักเรียนฯ ยังไม่มีประสบการณ์ในการโดด  ครูฝึกจะให้นักเรียนโดดฯ ท่า Back Out  โดยการต่อสาย Static Line หรือสายกระตุกคงที่ ทำหน้าที่ดึงร่มให้นักเรียนฯ ก่อน ที่ความสูง 3,000 ฟิต  ขั้นตอนนี้ เมื่อนักเรียนฯ โดดออกจากเครื่องบินแล้ว  ร่มจะถูกดึงให้กางออกโดยสาย Static Line ภายในระยะเวลาประมาณ 3 – 5 วินาที

โดดต่อสาย Static Line ครั้งที่ 3 (คนที่ 3)

ขณะโดดฯ ถึงแม้ว่า "ร่ม" จะถูกดึงให้กางออกด้วยสาย Static Line โดยอัตโนมัติ แต่นักเรียนฯ จะต้องปฏิบัติท่าทางต่าง ๆ กลางอากาศขณะตกลงมาตามแรงโน้มถ่วงของโลกตามที่ได้ฝึกมาให้ครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งขั้นตอนการ “เปิดร่ม”  เหมือนกับการโดดโดยที่ไม่มีสาย Static Line