ฟ้ายังฟ้าอยู่

ฟ้ายังฟ้าอยู่
ฟ้ายังดูสดใส
Freefall is one of the most exciting, adrenaline-filled experiences you're likely to ever have. The feeling is different for everyone, so check out the testimonials from people just like you, with one exceptionthey've fallen towards the earth at 120 miles per hour!

Wednesday, September 7, 2011

การฝึกการโดดร่มแบบกระตุกเองโดยวิธีเร่งรัด (Accelerated Free Fall (AFF)

ที่มา: การโดดร่มแบบ Tandem Jump And Accelerated Free Fall (AFF)
ขอขอบคุณ พ.ต.อ.ไวทยวัฒน์ บุญชูวิทย์ ผกก.ฝอ.บก.สอ.บช.ตชด.

การฝึกการโดดร่มแบบกระตุกเองโดยวิธีเร่งรัด (Accelerated Free Fall (AFF)

หมายถึง ระบบการฝึกโดดร่มแบบกระตุกเอง อย่างเร่งรัดโดยใช้ครูฝึก 2 คน ต่อนักเรียน 1 คน และอาจจะใช้นักโดดถ่ายวีดีโออีก 1 คนเป็นผู้ฝึกสอนอย่างใกล้ชิด ซึ่งนักเรียนจะได้รับการเรียนรู้ โดยการปฏิบัติด้วยตนเองเป็นหลัก ทั้งนี้ในระยะเริ่มต้น ครูฝึกทั้ง 2 คน จะจับนักเรียนโดยการประกบซ้าย-ขวา ประคองลงมาจากเครื่องบิน เป็นหลักสูตรที่ทันสมัยนิยมใช้ฝึกกันในปัจจุบัน

GREAT_AFF_SHOT03-1_thumb3

การโดดร่มแบบ AFF เริ่มมีการทดลองและทำการโดดกัน ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2513 จนกระทั่งทีการพัฒนาทั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการโดดรวมทั้งเทคนิคในการโดดกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้

AFF เป็นหลักสูตรเร่งรัดแบบก้าวหน้า มีความปลอดภัยสูง ทำให้นักเรียนสามารถพัฒนาการบินระหว่าง Free Fall ได้อย่างรวดเร็ว ครูฝึกสามารถควบคุมการปฏิบัติได้โดยใกล้ชิดทั้งภาคพื้นดินและภาคอากาศ การฝึกแบบ AFF นี้จะได้เปรียบกว่าการฝึกโดดแบบกระตุกเองของระบบการฝึกอื่นมาก แต่ว่าต้องใช้ครูฝึกรวมทั้งส่วนเกี่ยวข้อนอื่น ๆ ที่จำเป็นมากและต้องใช้งบประมาณสูงต่อการฝึก 1 คน

AFF_Eval_exit_thumb3

การฝึก AFF ประกอบด้วยการฝึกภาคพื้นดิน (Ground Training) และอีก 9 ขั้นตอนของภาคอากาศ ซึ่งในแต่ละขั้นของภาคอากาศ จะต้องมีการเตรียมซักซ้อมก่อนการโดด (Pre-Jump Briefing) และเมื่อโดดลงมาแล้วจะมีการทบทวนการปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริง (Post-Jump Debriefing) จากการโดดที่ผ่านมา ซึ่งจะมีภาพที่บันทึกไว้ด้วยวีดีโอประกอบการทบทวนด้วย

การฝึกภาคพื้นดิน (Ground Training) จะใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมงก่อนการโดดจริง เพื่อเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ เช่น

- เรื่องทั่ว ๆ ไปเกี่ยวกับการโดด AFF (General Knowledge)
- อุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็นในการโดด (Equipment)
- ขั้นตอนการปฏิบัติต่าง ๆ และการปฏิบัติ (Pre-Jump Briefing)
- เรื่องเกี่ยวกับเครื่องบินและการโดดออกจากเครื่องบิน (Aircraft Procedues)
- การลอยตัวและการบังคับตัวเองระหว่างโดด (Free Fall Control)
- ระบบการใช้ร่มช่วยเมื่อร่มใหญ่ขัดข้อง (Parachute Emergency Procedues)
- การบังคับร่ม (Canopy Control)
- การลงพื้นและการทบทวนการปฏิบัติที่เกิดขึ้นพร้อมการแก้ไข (Landing And Post-Jump Debriefing )

Tuesday, September 6, 2011

Terminal Velocity

Terminal Velocity หมายถึง ความเร็วขั้นสุดท้ายของการร่วงหล่นลงสู่พื้นของนักดิ่งพสุธาที่เข้าสู่แรงดึงดูดหรือแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity) อยู่ที่ความเร็วประมาณ 176 ฟุต ต่อวินาที หรือ 120 ไมล์ ต่อชั่วโมง (190 กม. ต่อ ชม.)

การที่นักดิ่งพสุธาจะตกลงสู่พื้นโลกจนถึงขีดสุดที่ความเร็วดังกล่าว โดยทั่วไปจะใช้ระยะเวลาหลังจากที่โดดออกจากอากาศยานและพ้นจากแรงเฉื่อยของอากาศยานไปแล้วประมาณ 12 วินาที