ฟ้ายังฟ้าอยู่

ฟ้ายังฟ้าอยู่
ฟ้ายังดูสดใส
Freefall is one of the most exciting, adrenaline-filled experiences you're likely to ever have. The feeling is different for everyone, so check out the testimonials from people just like you, with one exceptionthey've fallen towards the earth at 120 miles per hour!

Monday, September 13, 2010

ประวัติการโดดร่มแบบกระตุกเอง และการโดดร่มแบบกระตุกเองทางทหาร

ขอขอบคุณ พ.ต.อ.ไวทยวัฒน์ บุญชูวิทย์ ผกก.ฝอ.บก.สอ.บช.ตชด.
(ภาพประกอบโดยเจ้าของบล็อก)


การโดดร่มแบบกระตุกเองเริ่มจากในต่างประเทศ คือ เมื่อ พ.ศ. 2454 นักกายกรรมชาว อเมริกันชื่อ Grant Morton ได้แสดงความกล้าหาญต่อหน้าผู้ชมจำนวนมากมาย ด้วยการอุ้มร่มผ้าไหมที่พับไว้อย่างเรียบร้อยแล้วกระโดดออกมาจากเครื่องบิน Wright Model E. แล้วปล่อยให้ร่มกางออกรับลม เขาลอยลงสู่พื้นได้อย่างปลอดภัยที่หาดเวนิส แคลิฟอเนีย ประเทศสหรัฐ ซึ่งอาจถือได้ว่าบุคคลผู้นี้เป็นคนแรกที่กระโดดร่มประเภทนี้



แต่บุคคลแรกที่กระโดดร่มแบบกระตุกเอง ประสพผลสำเร็จอย่างแท้จริงนั้น ซึ่งได้มีการทดลองอย่างจริงจัง เมื่อ 28 เม.ย. 2462 โดย MR. Leslie Irvin ชาวอเมริกัน ที่สนามโดด MC Cook เมือง Dayton รัฐ OHIO ประเทศสหรัฐ ฯ

Irvin กระโดดจากเครื่องบินที่ความสูง 1,500 ฟุตแล้วดึงร่มด้วยห่วงดึง ทำให้ร่มกางทันทีโดยไม่มีการถ่วงเวลาแต่อย่างใด ขณะลงพื้นข้อเท้าแตก ถือได้ว่าการทดลองประสพความสำเร็จ



ส่วนการโดดร่มแบบกระตุกเอง ที่มีการถ่วงเวลาเป็นครั้งแรกนั้น เกิดขึ้นจาก อุบัติเหตุการสละเครื่องบินของ ร.ท. ฮาร์โรลด์ อาร์ แฮริส (LT.Harold R.Harris)
เมื่อ 22 ต.ค. 2465 ร.ท. ฮาร์โรลด์ ได้กระโดดสละเครื่องบินที่ความสูง 2,500 ฟุต แต่เกิดปัญหายุ่งยากในการหาห่วงดึงร่ม

จนกระทั่งดิ่งลงมากระตุกห่วงดึงร่มให้ร่มกางได้ที่ระยะความสูง 500 ฟุต ก่อนถึงพื้นดิน เท่ากับเขาได้ถ่วงเวลาก่อนดึงร่มให้กางได้ถึงประมาณ 15 วินาที โดยไม่ได้ตั้งใจ

ซึ่งเท่าที่กล่าวข้างต้นนั้น การกระโดดร่มแบบกระตุกเอง (Free Fall ) นั้นยัง ไม่มีท่าทางการโดดเป็นกิจจะลักษณะ แล้วแต่จะตกลงมาท่าใดก็ได้
Lt.Harold Harris
สำหรับท่าทางการทรงตัว ระหว่างโดดลงมาก่อนดึงร่มให้กางนั้น เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2477 โดย Floyd Smith ชาวอเมริกัน ได้เขียนเรื่องลงในนิตยสาร เกี่ยวกับเรื่องแนวทางและวิธีการทรงตัวในอากาศ ขณะที่มนุษย์ดึงถ่วงเวลาลงมา ก่อนที่จะกระตุกร่มให้กาง อันเป็นเทคนิคพื้นฐานที่สำคัญ ที่เป็นประโยชน์ในการกระโดดร่มแบบกระตุกเองอยู่ในทุกวันนี้
ต่อมาชาวฝรั่งเศส ก็ได้นำการกระโดดร่มมาเป็นการกีฬา ในปี พ.ศ. 2492 ได้ก่อตั้งสมาคมขึ้นถึง 10 สมาคมทั่วประเทศ อีกทั้งยังค้นพบวิธีแก้ไขท่าทางการทรงตัวในอากาศได้อย่างสมบูรณ์

เทคนิคและวิธีการต่างๆ ของการโดดร่มประเภทนี้ ได้นำเข้าสู่สหรัฐอีกใน ปี พ.ศ. 2498 โดย MR.Jacques A Istel ซึ่งภายหลังที่เขาได้สังเกตุการณ์ และได้พบความเห็นความวิเศษสุด ของการโดดร่มในฝรั่งเศสมาแล้ว เขาได้ติดต่อและฝึก ให้กับทีมโดดร่มกีฬาทีมแรกของสหรัฐ ในการเข้าร่วมแข่งขันนานาชาติ และเขายังได้รับเชิญจาก ทบ.สหรัฐ ให้เป็นกรรมการคัดเลือก และฝึกสอนทหารพลร่มหน่วยรบพิเศษที่ 77
ฟอร์ทแบลค เอ็น.ซี. ถึงเทคนิคในการโดดร่มแบบกระตุกเอง ในปี พ.ศ. 2500
James Floyd Smith


ทบ.สหรัฐได้พิจารณาการฝึกโดดร่มแบบกระตุกเอง จากการกีฬาให้เป็นทางทหารโดยจัดตั้งทีมที่ FT. Bragg N.C. ประมาณปี พ.ศ. 2503 เพื่อฝึกกระโดดในระยะสูงขั้นใช้อ๊อกซิเจน ซึ่งผู้เข้ารับการฝึกชุดแรกนี้ ต้องเข้ารับการอบรมหลักสูตรการใช้อ๊อกซิเจน ที่ฐานทัพอากาศโอไฮโอ มีการศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับการขาดอ๊อกซิเจน การทดลองหาอัตราตกที่แน่นอนในระยะสูง ๆ


และในปีเดียวกันนี้ สมาชิกจำนวนหนึ่งของ ทบ.สหรัฐ ได้สาธิต การกระโดดร่มแทรกซึมทางอากาศชั้นสูงที่สุด ในสมัยนั้นเป็นครั้งแรก สูงถึง 30,000 ฟุต โดยใช้อ๊อกซิเจน และประกอบสิ่งอุปกรณ์ด้วย นับว่าเป็นการพัฒนาการกระโดดร่มแทรกซึมทางอากาศชั้นสูง (HALO) และเมื่อ 16 ธ.ค. 2506 สมาชิกทีมโดดร่ม HALO ของทีม ทบ.และ ทอ.สหรัฐ จำนวน 14 คน ได้ทำสถิติโดดในการโดดร่มประเภทนี้อีกครั้ง ที่สนามโดดเอลเซนโตร แคลิฟอเนีย ความสูง 43,500 ฟุต โดยนักโดด HALO ทุก ๆ คนปลอดภัย

No comments:

Post a Comment