ฟ้ายังฟ้าอยู่

ฟ้ายังฟ้าอยู่
ฟ้ายังดูสดใส
Freefall is one of the most exciting, adrenaline-filled experiences you're likely to ever have. The feeling is different for everyone, so check out the testimonials from people just like you, with one exceptionthey've fallen towards the earth at 120 miles per hour!

Saturday, September 18, 2010

ด่านที่สอง: ฝึกปฏิบัติภาคพื้นดิน

IMG_4431

ช่วงเช้าของวันแรกหลังจากพิธีเปิดหลักสูตร มีการเรียนภาคทฤษฎี  นักเรียนฯ ได้เข้าห้องเรียน ฟังครูฝึกบรรยายถึงประวัติและความเป็นมาของการโดดร่มแบบกระตุกเอง การโดดออกจากเครื่องบิน ท่าทางการทรงตัวในอากาศ  หลัก aero dynamic  การพับร่ม การใช้ร่มช่วย (reserv) และการบังคับร่มเหลี่ยม ฯลฯ แล้ว ในตอนบ่ายและวันต่อ ๆ ไปนักเรียนฯ จะต้องออกไปฝึกปฏิบัติกลางแจ้ง


“สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ”

การจะทำอะไรให้บังเกิดผลสัมฤทธิ์จะต้องลงมือปฏิบัติจริงจึงจะเกิดทักษะและความชำนาญ  การฝึกโดดร่มแบบกระตุกเองก็เช่นเดียวกัน ระยะเวลา 1 สัปดาห์ นักเรียนฯ จะต้องผ่านการฝึกตามสถานีต่าง ๆ ตามมาตรฐานการฝึกเพื่อสร้างความชำนาญ ความมั่นใจ สามารถเอาชนะตัวเอง เอาชนะความกลัว เอาชนะอารมณ์ความรู้สึก และความไม่รู้ที่เราจะต้องเผชิญ  เพราะเมื่อเท้าพ้นออกจากอากาศยานไปแล้ว นักโดดแต่ละคนมีตัวเองเป็นที่พึ่งแห่งตน เมื่อยามคับขัน คนอื่นไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้เลย

การฝึกปฏิบัติภาคพื้นดิน นักเรียนฯ จะได้รับการฝึกจากครูฝึกตามสถานีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

สถานีฝึกท่าทางการทรงตัวในอากาศ และฝึกแดะบนถังน้ำมัน

หากเป็นประเทศที่เจริญแล้วทั้งหลาย เมื่อนักเรียนฯ ได้เรียนรู้ท่าทางการทรงตัวในอากาศแล้ว จะได้ฝึกทักษะการทรงตัว และฝึกปฏิบัติท่าทางที่ถูกต้องใน Wind Tunel  แต่เนื่องจาก Wind Tunel นั้นมีราคาแพงมาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติยังไม่มีงบประมาณพอที่จะสนับสนุนในการสร้าง Wind Tunel สำหรับฝึกนักเรียนฯ ได้  ครูฝึกค่ายนเรศวรจึงคิดค้น Wind Tunel แบบง่าย ๆ สไตล์ค่ายนเรศวรให้นักเรียนฯ ได้ฝึกทักษะการทรงตัวในอากาศแทนการฝึกใน Wind Tunel

skydivingนี่แหละครับ Wind Tunel ของพวกเรา ^^

skydivingต้องทรงตัวอยู่บนถังให้ได้

skydivingการทรงตัว ท่ามาตรฐาน frog บนถังน้ำมัน

สถานีฝึกการบังคับร่มเหลี่ยม

skydiving

การตรวจร่มเหลี่ยม (เปิดร่ม)  (เป็นสิ่งที่นักเรียนฯ ทุกนายจะต้องท่องจำให้ขึ้นใจ)

  1. เปิดร่มตรวจดู cell ทุก cell ทุกช่องว่ากางเต็มที่ทุกช่องหรือไม่
  2. ตรวจดู slider (แผ่นชะลอการกางของร่ม) ว่าเลื่อนลงมายังจุดรวมสายหรือไม่ ถ้า cell ไม่กินลม แผ่น slider ไม่ลง ให้ปฏิบัติตามข้อ 3
  3. ให้ดึงสาย risers คู่หลัง ดึงลงมาให้สุดแล้วปล่อยหลาย ๆ ครั้งจนลง
  4. ดึงสาย risers เส้นใดเส้นหนึ่งให้หันหน้าทวนลม
  5. ดูร่มข้างเคียง ซ้าย – ขวา  หน้า – หลัง แล้วฉีกแผ่น slider
  6. ปลดล็อกเบรค
  7. ปลดสายบังคับลงมา ฝึกหัดเลี้ยว ซ้าย – ขวา  แคบ – กว้าง  จุดหยุด จุด stall
  8. หาสนาม คำนวณความเร็วของลม  กะระยะ หันหน้าทวนลมเพื่อเตรียมตัวลงพื้น
  9. ห้ามกลับร่มต่ำกว่า 300 ฟุต
  10. เปิดร่ม ล็อกเบรกด้านใดด้านหนึ่งหลุดให้ดึงสายบังคับด้านที่ไม่หลุดลงมาให้ร่มหยุดแล้วปฏิบัติตามข้อ 1 ใหม่

หมายเหตุ: เปิดร่ม สายบังคับ “ขาด” ด้านใดด้านหนึ่ง ให้ปลดด้านที่ไม่ขาดให้หลุดแล้วใช้สาย risers บังคับแทน

สถานีฝึก บ.จำลอง

skydiving สถานีฝึก บ.จำลอง ฝึกการปฏิบัติขณะอยู่บนอากาศยานก่อนจะโดดออกมา

skydivingราวเหล็กไว้สำหรับพยุงตัวก่อนโดดด้วยท่าพื้นฐาน back down

skydivingเมื่ออากาศยานบินใกล้จะถึง drop zone (dz) jump master จะสั่ง get ready เพื่อให้นักโดดมีความพร้อมในการปฏิบัติ

skydivingเมื่อสั่ง stand up  นักโดดก็จะลุกขึ้นยืน

skydivingจากนั้น jump master จะสั่ง standby นักโดดคนที่ 1 สืบเท้าขวาถึง lamp ท้าย มือขวาจับที่ราวแล้วหมุนตัว 180 องศา หันหน้าเข้าหาตัวเครื่อง มือซ้ายจับราว พร้อมกับจัดท่ายืนโดยให้ส้นเท้ายื่นออกนอกขอบท้าย lamp ออกมา 1 ใน 3 ของเท้า

skydivingเมื่อ jump master สั่ง ready นักโดดย่อเข่าลงเล็กน้อยเพื่อเตรียมสปริงตัวโดด

skydiving เมื่อ jump master สั่ง go !! นักโดดก็จะสปริงตัวแดะไปข้างหลังในท่า back down

สถานีฝึกพับร่ม

การโดดร่มแบบกระตุกเอง นักโดดจะต้องพับร่มของตัวเอง จะไว้ใจให้คนอื่นมาพับให้ก็กระไรอยู่ ร่มจะกางหรือไม่กางอยู่ที่การพบร่มด้วยส่วนหนึ่ง  เพราะฉะนั้น สถานีนี้ทุกคนจึงให้ความสนใจเป็นพิเศษ

IMG_3958  ครูฝึกสอนการพับร่ม

IMG_4727 พับเอง โดดเอง

skydiving ร่มพับเสร็จแล้ว พร้อมโดด

สถานีฝึกล้มตัว

ความจริงหากบังคับร่มได้อย่างถูกต้อง  เมื่อถึงพื้นดินนักโดดสามมารถที่จะเดินหรือวิ่งไปตามความเร็วของร่มได้  แต่ครูฝึกให้นักเรียนฯ ทบทวนการฝึกล้มตัวเล็กน้อยเพื่อสร้างความมั่นใจขณะลงพื้นมากยิ่งขึ้น

skydivingขณะบังคับร่มลงพื้น
  skydiving  งอเข่า เบี่ยงตัวให้แรงผ่อนออกไปทางข้างลำตัว

skydivingผ่อนให้แรงตกกระทบไล่จากน่องไปตามท่อนขาตามลำดับ

สถานีฝึกโดดหอ

การฝึกโดดหอเป็นสถานีที่ครูฝึกใช้ในการตรวจสอบท่าทางการโดด และการทรงตัวของนักเรียน หลังจากที่ผ่านการฝึกท่ามาตรฐานต่าง ๆ มาแล้ว ก่อนที่จะขึ้นโดดจริงจากเครื่องบิน  บางคนโดดไม่กี่ครั้งก็ผ่าน  แต่หลายคนโดดแล้วโดดอีกนับสิบ ๆ ครั้ง จนได้รับฉายาว่า
“ปู่หอ” หรือ “ย่าหอ”

skydivingหอสูง 34 ฟุต

skydiving ก่อนโดด  ครูฝึกสั่ง standby… (นักโดดเตรียมตัว)

skydivingครูฝึกสั่ง ready… (นักโดดย่อเข่าเล็กน้อย เพื่อสปริงตัว)

skydivingครูฝึกสั่ง go !! (นักโดดสปริงตัวโดดออกไปด้านหลัง)

skydivingนับถ่วงเวลา…   one thousand.. two thousand.. (มือขวาตบ toggle เพื่อเตรียมเปิดร่ม)

skydivingthree thousand.. (ดึง toggle กลับไปอยู่ท่าเดิม แล้วนับต่อ)

skydivingfour thousand.. five thousand.. check canopy…(ตรวจสอบว่าร่มกางหรือไม่)

ฯลฯ

โดยปกติ หลักสูตรการโดดร่มเองของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ใช้เวลาฝึกภาคพื้นดินเพียง 1 สัปดาห์  หลังจบการฝึกภาคพื้นดิน 1 สัปดาห์แรก  สัปดาห์ถัดไป พวกเรากระเหี้ยนกระหือรืออยากที่จะโดดเร็ว ๆ แต่ปรากฎว่า รุ่นของผมเกิดปัญหาอุปสรรคในการโดดเล็กน้อย คือ บ.สกายแวน ซึ่งเป็นอากาศยานที่จะใช้ในการโดดถึงวงรอบที่จะต้องเปลี่ยนอะไหล่ล้อยาง  แต่ล้อยางที่จะเปลี่ยนต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ  ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการรอนำเข้าอะไหล่ล้อยางอีก  ยังไม่ทราบกำหนดว่าจะมาถึงเมื่อไหร่ จำเป็นต้องขยายระยะเวลาฝึกภาคพื้นดินเพิ่มขึ้นอีก 2 สัปดาห์ กลายเป็น 3 สัปดาห์  คราวนี้ ความรู้สึกกระเหี้ยนกระหือที่จะโดดยิ่งเพิ่มทวีคูณขึ้นอีกหลายเท่า

No comments:

Post a Comment