ฟ้ายังฟ้าอยู่

ฟ้ายังฟ้าอยู่
ฟ้ายังดูสดใส
Freefall is one of the most exciting, adrenaline-filled experiences you're likely to ever have. The feeling is different for everyone, so check out the testimonials from people just like you, with one exceptionthey've fallen towards the earth at 120 miles per hour!

Wednesday, September 7, 2011

การฝึกการโดดร่มแบบกระตุกเองโดยวิธีเร่งรัด (Accelerated Free Fall (AFF)

ที่มา: การโดดร่มแบบ Tandem Jump And Accelerated Free Fall (AFF)
ขอขอบคุณ พ.ต.อ.ไวทยวัฒน์ บุญชูวิทย์ ผกก.ฝอ.บก.สอ.บช.ตชด.

การฝึกการโดดร่มแบบกระตุกเองโดยวิธีเร่งรัด (Accelerated Free Fall (AFF)

หมายถึง ระบบการฝึกโดดร่มแบบกระตุกเอง อย่างเร่งรัดโดยใช้ครูฝึก 2 คน ต่อนักเรียน 1 คน และอาจจะใช้นักโดดถ่ายวีดีโออีก 1 คนเป็นผู้ฝึกสอนอย่างใกล้ชิด ซึ่งนักเรียนจะได้รับการเรียนรู้ โดยการปฏิบัติด้วยตนเองเป็นหลัก ทั้งนี้ในระยะเริ่มต้น ครูฝึกทั้ง 2 คน จะจับนักเรียนโดยการประกบซ้าย-ขวา ประคองลงมาจากเครื่องบิน เป็นหลักสูตรที่ทันสมัยนิยมใช้ฝึกกันในปัจจุบัน

GREAT_AFF_SHOT03-1_thumb3

การโดดร่มแบบ AFF เริ่มมีการทดลองและทำการโดดกัน ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2513 จนกระทั่งทีการพัฒนาทั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการโดดรวมทั้งเทคนิคในการโดดกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้

AFF เป็นหลักสูตรเร่งรัดแบบก้าวหน้า มีความปลอดภัยสูง ทำให้นักเรียนสามารถพัฒนาการบินระหว่าง Free Fall ได้อย่างรวดเร็ว ครูฝึกสามารถควบคุมการปฏิบัติได้โดยใกล้ชิดทั้งภาคพื้นดินและภาคอากาศ การฝึกแบบ AFF นี้จะได้เปรียบกว่าการฝึกโดดแบบกระตุกเองของระบบการฝึกอื่นมาก แต่ว่าต้องใช้ครูฝึกรวมทั้งส่วนเกี่ยวข้อนอื่น ๆ ที่จำเป็นมากและต้องใช้งบประมาณสูงต่อการฝึก 1 คน

AFF_Eval_exit_thumb3

การฝึก AFF ประกอบด้วยการฝึกภาคพื้นดิน (Ground Training) และอีก 9 ขั้นตอนของภาคอากาศ ซึ่งในแต่ละขั้นของภาคอากาศ จะต้องมีการเตรียมซักซ้อมก่อนการโดด (Pre-Jump Briefing) และเมื่อโดดลงมาแล้วจะมีการทบทวนการปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริง (Post-Jump Debriefing) จากการโดดที่ผ่านมา ซึ่งจะมีภาพที่บันทึกไว้ด้วยวีดีโอประกอบการทบทวนด้วย

การฝึกภาคพื้นดิน (Ground Training) จะใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมงก่อนการโดดจริง เพื่อเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ เช่น

- เรื่องทั่ว ๆ ไปเกี่ยวกับการโดด AFF (General Knowledge)
- อุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็นในการโดด (Equipment)
- ขั้นตอนการปฏิบัติต่าง ๆ และการปฏิบัติ (Pre-Jump Briefing)
- เรื่องเกี่ยวกับเครื่องบินและการโดดออกจากเครื่องบิน (Aircraft Procedues)
- การลอยตัวและการบังคับตัวเองระหว่างโดด (Free Fall Control)
- ระบบการใช้ร่มช่วยเมื่อร่มใหญ่ขัดข้อง (Parachute Emergency Procedues)
- การบังคับร่ม (Canopy Control)
- การลงพื้นและการทบทวนการปฏิบัติที่เกิดขึ้นพร้อมการแก้ไข (Landing And Post-Jump Debriefing )

Tuesday, September 6, 2011

Terminal Velocity

Terminal Velocity หมายถึง ความเร็วขั้นสุดท้ายของการร่วงหล่นลงสู่พื้นของนักดิ่งพสุธาที่เข้าสู่แรงดึงดูดหรือแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity) อยู่ที่ความเร็วประมาณ 176 ฟุต ต่อวินาที หรือ 120 ไมล์ ต่อชั่วโมง (190 กม. ต่อ ชม.)

การที่นักดิ่งพสุธาจะตกลงสู่พื้นโลกจนถึงขีดสุดที่ความเร็วดังกล่าว โดยทั่วไปจะใช้ระยะเวลาหลังจากที่โดดออกจากอากาศยานและพ้นจากแรงเฉื่อยของอากาศยานไปแล้วประมาณ 12 วินาที

Thursday, August 25, 2011

การโดดร่มแบบ Tandem (Tandem Jump)

ที่มา: การโดดร่มแบบ Tandem Jump And Accelerated Free Fall (AFF)
ขอขอบคุณ พ.ต.อ.ไวทยวัฒน์ บุญชูวิทย์ ผกก.ฝอ.บก.สอ.บช.ตชด.

sky4000

กล่าวทั่วไป

ในปัจจุบันนี้การโดดร่มแบบกระตุกเองมีการพัฒนา และมีการโดดกันอย่างแพร่หลายทั้งด้านการทหารและด้านการฝึกของพลเรือน ความรู้สึกที่เห็นว่าการโดดร่มแบบกระตุกเองเป็นเรื่องที่น่ากลัว และเป็นอันตรายนั้น ค่อย ๆ หายออกไปจากความคิดของคนทั่วไป แต่มีความรู้สึกที่อยากจะเข้ามามีส่วนร่วมมีมากขึ้น เพราะว่าปัจจุบันได้มีร่มและอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยที่เชื่อถือได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ รวมถึงระบบการฝึกและความสามารถของครูฝึกที่เชื่อถือได้เช่นกัน ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การที่บุคคลทั่วไปได้เห็นการโดดต่าง ๆ ด้วยรูปภาพนิ่งและภาพที่บันทึกจากกล้องวีดีโอ ก็เป็นสื่อที่รบเร้าจิตใจเป็นอย่างมาก ระบบที่ใช้ในการฝึกโดดร่มแบบกระตุกเองที่ทำให้บุคคลทั่วไป สามารถที่เข้าร่วมฝึกทำการโดดได้โดยไม่ต้องเสียเวลามากนักนั่นก็คือ ระบบ Tandem Jumping และการฝึก AFF (Accelerated Free Fall) นั่นเอง

Tandem Jumping

Tandem Jumping เป็นการโดดร่มแบบกระตุกเอง ด้วยร่มเหลี่ยมขนาดใหญ่แบบหนึ่ง ซึ่งสามารถโดดได้โดยคน 2 คน ต่อร่ม ร่มเดียวคนโดดหลักคือ ครูฝึก หรือ Tandem Master อีกคนหนึ่งคือนักเรียน หรือผู้โดยสาร (Passenger) ในสมัยนี้เป็นที่นิยมกันมากตามศูนย์ฝึกโดดร่มพลเรือนหรือตามสมาคมโดดร่มต่าง ๆ ที่ถือว่าการโดดร่มเป็นการกีฬา และดำเนินกิจการโดดร่มเป็นเรื่องของธุรกิจการค้า เป็นเรื่องที่เหมาะสำหรับบุคคลที่ต้องการโดดร่มโดยที่ไม่ต้องเสียเวลาในการฝึก คือ ต้องการโดดเพื่อประสบการณ์หรือได้ทดลองเท่านั้น ไม่มีจุดประสงค์ที่จะทำการโดดต่อไป ส่วนมากเมื่อโดดแล้วก็จะไม่ต้องการจะโดดอีกเป็นครั้งที่สอง ส่วนการโดดอีกลักษณะหนึ่งของ Tandem Jumping ก็คือ เป็นการเตรียมตัวที่จะฝึกโดดแบบกระตุกเองต่อไปในระบบ AFF กล่าวคือนักเรียนจะทำการโดด Tandem Jumpingกับครูฝึกก่อนประมาณ 3-5 ครั้ง เพื่อเรียนรู้ถึงการปฏิบัติตัวกลางอากาศและทำตัวเองให้เกิดความคุ้นเคยกับการ Free Fall โดยมีครูฝึกควบคุมและตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา ว่าสามารถจะทำการโดดในขั้นต่อไปได้หรือไม่ ซึ่งทุกครั้งที่ทำการโดด Tandem จะโดดในระยะสูง 10,000 ฟุต และมีเวลาช่วงที่ Free Fall ประมาณ 30 วินาที

pete_plane_on_hd_01

Tandem Jumping ไม่ใช่เรื่องใหม่ กล่าวคือ ประมาณไม่ต่ำกว่า 15-20 ปีที่แล้ว William R.Booth และเพื่อนได้เคยลองโดดกันมาแล้วด้วยร่มทิ้งของแบบเก่า (44 Foot Cargo Chute) ซึ่งถึงแม่ว่าทั้งสองคนเป็นนักโดดที่มีประสบการณ์แล้วก็ตามแต่ก็ทำให้เกือบตายเหมือนกัน และนอกจากนั้นก็เคยมีการโดดโดยนักโดดรัสเซียมาก่อนในการโดดสาธิตในระหว่างการแข่งขันโดดร่มชิงแชมป์เปี้ยนโลกในสมัยเก่า ๆ นอกจากนั้นก็มีการโดดโดยสาย Static Line ทางทหารด้วยการนำเอาสุนัขสงครามลงมาด้วยของทหารอเมริกัน

แต่ว่าการโดด Tandem สมัยใหม่นั้นเริ่มขึ้น เมื่อ ปี พ.ศ.2520 ที่ Deland รัฐ Florida ประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้นมาก็มีการพัฒนาร่มและอุปกรณ์ของ Tandem Jumping มาจนถึงปัจจุบันนี้

skydive-exit-7671

Tandem Jumping นั้นนอกจากการใช้ประโยชน์ดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างมากในด้านการทหาร คือสามารถจะใช้ระบบ Tandem นี้ทำการแทรกซึมทางอากาศโดยการพาบุคคลสำคัญ (Specialist) เข้าไปยังพื้นที่ ๆ ไม่สามารถจะเข้าไปได้ด้วยวิธีอื่นใด เพื่อเข้าไปปฏิบัติภารกิจทางด้านการทหารอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งกรณีนี้เป็นกรณีที่บุคคลสำคัญดังกล่าวไม่สามารถโดดร่มด้วยตนเองและก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องไปเสียเวลา, เสียงบประมาณ, เสี่ยงชีวิต เข้าไปทำการฝึกโดดด้วยตนเองด้วย

ในปัจจุบันการพัฒนาของร่ม Tandem ได้มีการออกแบบให้มีขนาดความใหญ่ถึง 3 ขนาด คือ ขนาด 360 ตารางฟุต , 421 ตารางฟุต และ 520 ตารางฟุต ซึ่งผู้ที่เป็น Tandem Master จะสามารถเลือกใช้ได้ตามแต่ภารกิจ ซึ่งส่วนมากจะขึ้นอยู่กับตัว Tandem Master เอง ว่ามีน้ำหนักเท่าใด และผู้ที่จะโดยสารไปด้วยนั้นมีน้ำหนักเท่าใดนั่นเอง สำหรับในระบบของทางทหารแล้วจำเป็นจะต้องใช้ร่ม Tandem ขนาด 520 ตารางฟุต ซึ่งเป็นร่มแบบเหลี่ยมขนาดใหญ่ที่สุด เพื่อการบรรทุกสิ่งอุปกรณ์ทางยุทธวิธีเป็นสำคัญ

Wednesday, August 24, 2011

หลักฟิสิกส์กับการโดดร่ม


luckynickel3

เพื่อน ๆ หลายคนถามผมว่า  รู้สึกอย่างไรตอนโดดออกจากเครื่องบิน ?  เสียวมั้ย ? น่ากลัวมั้ย..?  ตอบได้เลยว่า  เสียวครับ….  แต่การฝึกทำให้นักโดดร่มมั่นใจ และกล้าโดด  เวลาที่เสียวที่สุดและน่ากลัวที่สุดสำหรับนักโดดร่มมือใหม่หัดขับอย่างผม ก็คือ  ขณะอยู่บนอากาศยานช่วงก่อนโดดออกจากอากาศยาน  ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่ผมรู้สึกระทึกใจกระวนกระวายใจมากที่สุด   เมื่อนักดิ่งพสุธาพุ่งทะยานออกจากอากาศยานไปแล้ว  ความเครียด ความกลัวจะมลายหายไปจนหมดสิ้น ที่เหลือคือ  ชีวิตของตัวเองที่ฝากไว้กับร่มชูชีพที่อยู่บนหลัง

เมื่อนักดิ่งพสุธาโดดออกจากอากาศยานบนความสูงในแนวระดับ เสี้ยววินาทีแรกของนักดิ่งพสุธาจะไม่มีความเร็วเริ่มต้นในแนวดิ่ง   ณ จุดเริ่มต้นมีเพียงแรงเดียวที่มากระทำกับนักดิ่งพสุธา คือ น้ำหนักตัวเท่านั้นเอง

แรงโน้มถ่วงทำให้มีแรงพุ่งลง กลายเป็นความไม่สมดุลย์ หรือแรงลัพธ์ เกิดความเร่ง ขณะที่ร่างของนักดิ่งพสุธาเคลื่อนที่เร็วขึ้น เร็วขึ้น เร็วขึ้นเรื่อย ๆ  แรงเสียดทาน (ความต้านทานของอากาศหรือแรงต้าน) จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ แรงฉุดที่เกิดขึ้นมีทิศพุ่งขึ้นสวนกับน้ำหนักที่พุ่งลง ซึ่งจะช่วยลดความเร่งพุ่งลงของนักดิ่งพสุธา  ทำให้ความเร็วลดลงเรื่อย ๆ จนในที่สุดแรงฉุดจะเท่ากับน้ำหนัก ทำให้แรงสุทธิเป็นศูนย์ การพุ่งลงของนักดิ่งพสุธาจะไม่มีความเร่งอีกต่อไป   ความเร็วตอนนี้ เป็นความเร็วคงที่เรียกว่า "ความเร็วขั้นสุดท้าย" (Terminal velocity)”  (คุ้น ๆ กับชื่อภาพยนต์เกี่ยวกับการโดดร่มดิ่งพสุธาเรื่อง Terminal velocity เมื่อหลายปีก่อนแล้วใช่มั้ยครับ..)

แต่เมื่อนักดิ่งพสุธาเปิดให้ร่มกางออก ร่มจะช่วยเพิ่มแรงฉุด  แรงสุทธิมีทิศพุ่งขึ้นสวนทางกับการเคลื่อนที่ลงทำให้ความเร็วลดลงเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว เมื่อความเร็วลดลง แรงฉุดก็ลดลงด้วยจนกระทั่งมีค่าเท่ากับแรงโน้มถ่วง นักดิ่งพสุธาจะมาถึงความเร็วขั้นสุดท้ายใหม่ ซึ่งน้อยกว่าตอนที่ยังไม่เปิดร่ม ทำให้ลงพื้นได้อย่างปลอดภัยและนิ่มนวล

ความเชื่อที่ว่า เมื่อร่มกางออก นักดิ่งพสุธาจะลอยขึ้นนั้นไม่เป็นความจริง  เมื่อเราเห็นในวิดีโอเหมือนกับกำลังลอยขึ้นนั้น แต่ที่จริงแล้วมันกำลังเคลื่อนที่ลง เพราะว่าคนถ่ายวิดีโอที่โดดลงมาพร้อมนักดิ่งพสุธา ขณะที่ร่มกางการเคลื่อนที่จะช้าลง คนถ่ายที่ร่มยังไม่กางจึงตกลงด้วยความเร็วสูงกว่า เมื่อถ่ายวิดีโอออกมาจึงดูเหมือนว่า นักดิ่งพสุธากำลังลอยขึ้น

Tuesday, August 23, 2011

Felix Baumgartner ประกาศโดดร่มที่ความสูง 120,000 ฟุต, อาจทำความเร็วเหนือเสียงได้


Felix Baumgartner เป็นอดีตทหารและสตันท์แมนที่โด่งดังขึ้นมาจากการไปกระโดดร่มตามจุดต่างๆ ของโลกมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นตึกปีโตรนาส, ไทเป 101 รวมถึงการบินผ่านช่องแคบอังกฤษ (ดูวีดีโอหลัง break)

มาวันนี้เขาประกาศอีกครั้งที่จะกระโดดจากบอลลูนที่ความสูงถึง 120,000 ฟุต (หมายเหตุ 36.576 กม.) ซึ่งจะทำให้เขามีเวลาปล่อยตกอิสระมากกว่า 5 นาที และอาจจะทำความเร็วสุดท้ายเกินความเร็วเสียง ซึ่งจะทำให้เขาเป็นคนแรกที่ทะลุความเร็วเสียงโดยไม่ใช้แรงขับเคลื่อนจากเครื่องยนต์ ที่น่าสนใจคือแม้แต่สถิติบอลลูนที่ขึ้นไปได้สูงที่สุดนั้นก็ยังอยู่ที่ระดับ 114,000 ฟุตเท่านั้น นั่นคือถ้างานนี้สำเร็จเราจะได้สถิติโลกใหม่พร้อมกันสองอย่าง

ว่าแต่ตอนแกบินข้ามช่องแคบอังกฤษนี่ กระทิงแดงเป็นสปอนเซอร์ให้ ไม่รู้งานนี้จะมีสปอนเซอร์อีกไหม

ที่มา: http://jusci.net/node/1103

ขับมอเตอร์ไซค์ดิ่งพสุธาจากผาสูง 1,000 เมตร


ในเดือนพฤษภาคม ปี 2011 Julio Muñoz ทหารพลร่มชิลี ได้แสดงกิจกรรมท้าทายมฤตยู ในการโดดร่มดิ่งพสุธา (BASE jumping) ด้วยการขับรถมอเตอร์ไซค์ขนาด 450 ซีซี  พุ่งทะยานลงจากหน้าผ้าสูง 1,000 เมตร ในช่วงกลางของเทือกเขาแอนดีส (the Rabona Sector, El Plomo, Chile) ประเทศชิลี ก่อนที่จะผละออกจากมอเตอร์ไซค์ แล้วโดดร่มลงสู่พื้นอย่างปลอดภัย

Julio Muñoz วางแผนการโชว์นี้มานานถึง 3 ปี และลงทุนไป 60,000 ยูโร  “ผมรู้เพียงอย่างเดียว ว่าจะต้องขับขี่มอเตอร์ไซค์ให้เร็วที่สุดเพื่อขึ้นแลมป์” “และเมื่อคุณและรถหลุดออกจากกันนั้นแหละ คือ ความรู้สึกที่หาค่าไม่ได้” Julio Muñoz กล่าวทิ้งท้าย

การโดดร่มบอกอะไรคุณ

เครดิต by http://www.saranair.com/5540

Skydiving_7000_ft_Above

แบบทดสอบที่คุณกำลังจะเล่นต่อไปนี้ สามารถทดสอบบางเรื่องที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเลย ดังนั้น จงซื่อสัตย์กับจนเองขณะเล่นเกม โดยตอบความคิดแรกที่ปรากฎขึ้นมาในใจคุณเหลังจากที่อ่านโจทย์เสร็จแล้วทันที เริ่มกันเลย..

1. หลับตาแล้วจินตนาการว่าคุณกำลังอยู่บนเครื่องบินลำใหญ่ คุณกำลังมองคนอื่นๆกระโดดลงไปบนพื้นด้านล่างอย่างอิสระ ขณะที่อยู่ระหว่างกำลังรอคิวให้มาถึงตนเองนั้น คุณคิดอะไรอยู่?

2. ถึงตาคุณแล้ว! ครูฝึกพาคุณมาที่ประตู จากนั้น คุณพุ่งตัวออกไปในอากาศเบื้องหน้า ลมแรงพุ่งมาปะทะหน้าขณะที่คุณดิ่งตัวลงมาจากความสูงกว่าหมื่นฟุต คุณร้องว่าอย่างไร ขณะกำลังดิ่งลงสู่พื้นเบื้องล่าง?

3. คุณลงมาถึงพื้นดินอย่างปลอดภัย ในขณะที่คุณกำลังเก็บร่มชูชีพของคุณอยู่ ครูฝึกก็กำลังเดินตรงมาที่คุณพร้อมกับส่งเสียงเรียกคุณ ครูฝึกพูดอะไรกับคุณ? และคุณตอบอะไร?

เอาล่ะ ตอบเสร็จแล้วมาอ่านเฉลยกัน 1. อารมณ์ที่คุณกำลังรู้สึกขณะที่รอคิวอยู่นั้น เป็นสิ่งที่วัดระดับความปรารถนาในเรื่อง sex เช่น คุณอาจจะพูดว่า “มันต้องสนุกแน่เลย ฉันแทบจะรอไม่ไหวแล้ว”

2. คำพูดที่คุณตะโกนออกมานั้น หมายถึงสิ่งที่คุณจะพูดเมื่ออารมณ์ของคุณถึงจุดสุดยอด คุณพูดว่า “โอว์! แม่จ๋า” รึเปล่า

3. คำพูดที่ครูฝึกพูดกับคุณคือสิ่งที่คุณคิดว่าคู่ของคุณจะพูดหลังการร่วมรัก !! และคำพูดที่คุณพูดกับครูฝึกหมายถึงสิ่งที่คุณพูดกับคู่รักของคุณนั่นเอง

Tuesday, February 1, 2011

ความหมายของศัพท์เกี่ยวกับการโดดร่ม

ขอขอบคุณ พ.ต.อ.ไวทยวัฒน์ บุญชูวิทย์ ผกก.ฝอ.บก.สอ.บช.ตชด.

291997_10150267665141919_50043151918_7678601_3353385_n
photo1231.5qm89wtqchkwww4ksos4cocwo.8c071whd27c4o840cocgkcokg.th
  1. Parachuting หมายถึงการโดดร่มทั่ว ๆ ไป ซึ่งอาจจะหมายถึง การโดดร่มแบบใช้สายดึงประจำที่ หรือ การโดดร่มแบบกระตุกเอง
  2. Parachutist หมายถึง นักโดดร่มทั่ว ๆ ไป ซึ่งอาจจะหมายถึงนักโดดร่มแบบใช้สายดึงประจำที่หรือนักโดดร่มแบบกระตุกเองก็ได้
  3. Skydiving หมายถึง การโดดร่มแบบกระตุกเอง (FREE FALL) หรือการโดดร่มแบบเหินเวหา หรือ การโดดแบบดิ่งพสุธา
  4. Skydiver หมายถึง นักโดดร่มแบบกระตุกเอง หรือนักโดดร่มแบบเหินเวหา หรือ นักโดดร่มแบบดิ่งพสุธาเท่านั้น
  5. Static line หมายถึง สายดึงประจำที่ เพื่อคล้องเกี่ยวอยู่บนเครื่องบิน เป็นส่วนที่ดึงร่มให้กางของการโดดแบบสายดึงประจำที่
  6. Free Fall Parachuting หมายถึง การโดดแบบกระตุกเองที่ผู้โดดจะเป็นผู้ดึงร่มให้กางด้วยตนเอง หรือการโดดร่มโดยมีการถ่วงเวลาก่อนทำการเปิดร่มให้กางด้วยตนเอง
  7. Military Free Fall หมายถึง การโดดร่มแบบกระตุกเองทางทหาร ซึ่งส่วนมากจะหมายถึงการโดดแบบ HAHO หรือ HALO
  8. HAHO เป็นคำย่อจาก High Altitude High Opening หมายถึง การโดดแบบโดดสูง และเปิดร่มสูง ซึ่งเป็นยุทธวิธีของการแทรกซึมเบื้องสูงของทางทหารชนิดหนึ่ง (เป็นการโดดนอกพื้นที่ของข้าศึกแต่ลงไปในพื้นที่หรือหลังแนวของข้าศึก เพื่อปฏิบัติการทางยุทธวิธีภาคพื้นดินต่อไป)
  9. HALO เป็นคำย่อจาก High Altitude Low Opening หมายถึง การโดดแบบโดดสูงและเปิดร่มต่ำ ซึ่งเป็นยุทธวิธีการแทรกซึมเบื้องสูงของทางทหารอย่างหนึ่ง (เป็นการโดด ณ ตำบลเหนือพื้นที่ของข้าศึก เพื่อปฏิบัติการทางยุทธวิธีภาคพื้นดินต่อไป)
  10. Tandem Jumping หมายถึง การโดดร่มโดยมีร่มเพียงร่มเดียว แต่สามารถนำผู้โดดลงได้สองคน โดยคนหนึ่งเป็นผู้โดด (Tandem Master) และอีกคนหนึ่งเป็นผู้โดยสาร (Passenger)
  11. AFF เป็นคำย่อจากคำว่า Accelerated Free Fall ซึ่งหมายถึง การฝึกโดดร่มแบบกระตุกเองหลักสูตรเร่งรัด โดยโดดจากความสูงอย่างต่ำ 10,000 ฟุต มีครูฝึก 1 หรือ 2 คน เป็นผู้จับลงมาด้วย และมีการสอนการปฏิบัติกันระหว่างโดดอยู่ในอากาศจนกระทั่งเปิดร่ม
  12. AOD เป็นคำย่อมาจาก Automatic Opening Devices ซึ่งหมายถึงเครื่องเปิดร่มอัติโนมัติ
  13. Piggy Back หมายถึง ชุด Harness Container ที่มีร่มหลักและร่มช่วยอยู่ด้านหลังในชุดเดียวกัน
  14. Stable หรือ ARCH หมายถึง ท่าทางการโดดร่มแบบกระตุกเองขั้นพื้นฐานของผู้ฝึกใหม่ คือ ท่ากางแขนขาเป็นกากะบาท โดยมีจุดศูนย์ถ่วงอยู่ที่บริเวณสะดือ ซึ่งมีจุดประสงค์ให้เกิดความสมดุล
  15. Cypres เป็นคำย่อมาจาก Cybernetic Parachute Release System ซึ่งหมายถึง เครื่องเปิดร่มอัติโนมัติที่ดีที่สุด ในปัจจุบันนี้มี Cypres รุ่น 2 แล้ว คือ Cypres 2
  16. Cut Away หมายถึง การปลดปล่อยร่มหลักออกจากชุดสายรัดตัวของนักโดด เพื่อดึงร่มช่วยเมื่อร่มหลักมีปัญหาขัดข้อง หรือเพื่อทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขณะลงพื้น
  17. Wave Off หมายถึงการใช้สัญญาณมือหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย ซึ่งแสดงว่าต้องแยกออกจากกันหรือเลิกปฏิบัติขณะอยู่ในอากาศ เพื่อจะทำการเปิดร่ม
  18. Relative Work หมายถึงการโดดเกาะหมู่ของนักโดดร่มตั้งแต่สองคนขึ้นไป ปัจจุบันเรียกว่า Formation Skydiving
  19. Sky Hook หมายถึง Reserve Static Line (RSL ) ซึ่งเป็นสายที่เกี่ยวอยู่กับสายโยงบ่า (Riser ) ของร่มหลัก โดยต่อเนื่องกับสลักขัดร่มช่วย เมื่อมีการปลดปล่อยร่มหลัก(Cut Away) แล้ว ร่มหลักจะดึงสลักขัดร่มช่วยออกโดยอัตโนมัติ(เปิดร่มช่วยให้โดยอัตโนมัติ)
  20. SPOT หมายถึง EXIT POINT คือการกำหนดจุดปล่อยหรือจุดที่โดดออกจากเครื่องบิน
  21. D.Z. หมายถึง DROP ZONE คือสนามโดดหรือบริเวณที่หมาย ที่ใช้ในการลงพื้นของนักโดดร่มหรือสนามทิ้งของ
  22. Target หมายถึง ที่หมายที่ใช้ในการโดดร่มหรือสนามโดดที่เป็นจุดนัดหมาย
  23. Terminal Velocity หมายถึง ความเร็วสูงสุดของการร่วงหล่นลงพื้นของนักโดดที่เข้าสู่แรงดึงดูดหรือแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity) จะอยู่ที่ความเร็วประมาณ 176 ฟุต ต่อวินาที หรือ 120 ไมล์ ต่อชั่วโมง ซึ่งจะต้องใช้เวลาหลังจากที่โดดออกจากเครื่องบินและพ้นจากแรงเฉื่อยของเครื่องบินแล้วประมาณ 12 วินาที (จากหลักฐาน : Skydiver ’s Handbook ของ Dan Poynter )
  24. D.R.P หมายถึง Dummy Ripcord Pull คือ การฝึกหัดดึงห่วงดึงร่ม (Ripcord) ขณะทำการฝึกอยู่ในช่วงของการฝึกโดดต่อสายเช็คท่าทางของผู้ฝึกใหม่ ซึ่งปัจจุบันนี้อาจจะเป็นการฝึกดึง Toggle ไปแล้ว
  25. T.O.T. ย่อมาจาก Time Over Target ซึ่งหมายถึง เวลาเหนือที่หมายที่จะทำการโดดร่มหรือทิ้งของ
  26. Take Off หมายถึง การวิ่งขึ้นจากทางวิ่ง (Runway) ของเครื่องบิน
  27. Landing หมายถึง การลงของเครื่องบิน ณ สนามบินหรือที่อื่นใดก็ตาม
  28. Kit Bag หมายถึง ถุงเก็บอุปกรณ์ร่มหรือสิ่งใดก็ได้
  29. Wind Sock หมายถึง ถุงลมที่ไว้ใช้สังเกตทิศทางและความเร็วลมโดยประมาณ
  30. Wind Streamer หมายถึง อุปกรณ์พริ้วสำหรับไว้แสดงทิศทางของลม ซึ่งอาจจะใช้ทิ้งจากเครื่องบินหรือติดไว้บนเสาที่แสดงทิศทางของลม ณ ภาคพื้นดินก็ได้
  31. Wind Dummy หมายถึง การทดสอบทิศทางลม โดยการทิ้งโดยการโดดร่มหรือการใช้ทิ้งแบบ Wind Streamer ก็ได้
  32. Rigger Check หมายถึง การตรวจการแต่งเครื่องร่มของนักโดดร่ม
  33. Safety Rule หมายถึง มาตรการหรือกฎแห่งความปลอดภัย
  34. Rigger หมายถึง เจ้าหน้าที่พับร่ม ซ่อมบำรุงร่ม หรือเป็นเจ้าหน้าที่เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการผูกรัดหีบห่อ และอุปกรณ์ส่งทางอากาศเพื่อขนส่งทางเครื่องบิน
  35. Load Master หมายถึง เจ้าหน้าที่ผูกรัดจัดระเบียบ การบรรทุกสิ่งของหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ประจำเครื่องบิน
  36. Log Book หมายถึง สมุดบันทึกสถิติและรายละเอียดโดยย่อในการโดดร่ม ประจำตัวของนักโดดร่ม
  37. Door Exit หมายถึง ประตูทางออกของเครื่องบิน
  38. Emergency Door หมายถึง ประตูทางออกฉุกเฉินบนเครื่องบิน
  39. Delay หมายถึง การถ่วงเวลาในการโดดร่มแบบ Free Fall
  40. Hypoxia หมายถึง โรคเกี่ยวกับความสูงชนิดหนึ่งซึ่งเกี่ยวกับการขาดออกซิเจนในที่ ๆ สูงเกินกว่า 15,000 ฟุต ขึ้นไป
  41. I.P. ย่อมาจาก Interest Point หมายถึงจุดสังเกตของนักบิน หรือ J/M หรือผู้ทำการในอากาศ
  42. I.A.S. ย่อมาจาก Indicator Air Speed หมายถึง เครื่องซึ่งแสดงความเร็วของเครื่องบิน มีค่าเป็น Knot
  43. Instructor หมายถึง ครูฝึกซึ่งต้องมีการสาธิตหรือมีการปฏิบัติให้ดูหรือครูฝึกภาคสนาม
  44. J/M ย่อมาจาก Jump Master หมายถึง ผู้ควบคุมการโดดร่ม/ทิ้งของ
  45. Mass Jump หมายถึงการโดดร่มแบบเทลำ จำนวนมาก ๆ ซึ่งอาจจะใช้เครื่องบินจำนวนหลายลำในการโดดคราวเดียวกันด้วย
  46. F/F ย่อมาจาก Free Fall หมายถึงการโดดร่มแบบกระตุกเอง
  47. S/L ย่อมาจาก Static Line หมายถึงการโดดร่มแบบสายกระตุกคงที่
  48. Pilot หมายถึง นักบินหรือนักบินที่ 1
  49. Co Pilot หมายถึง ผู้ช่วยนักบินหรือนักบินที่ 2
  50. Fasten Seat Belt หมายถึง การรัดเข็มขัดนิรภัย
  51. Refresher หมายถึง การฝึกทบทวน
  52. Observer หมายถึง ผู้สังเกตการณ์
  53. Knot หมายถึงหน่วยวัดการอ่านค่าความเร็วของเครื่องบินหรือเรือ ซึ่งย่อมาจาก Nautical Mile Per Hour ซึ่งมีค่าเป็น ไมล์/ชั่วโมง (ไมล์ทะเล หรือไมล์อากาศเท่านั้น)
    ข้อสังเกต 1 ไมล์อากาศ-ทะเล เท่ากับ 1.152 ไมล์บก
    1 ไมล์บก เท่ากับ 1.6 กิโลเมตร
    ดังนั้น 1 ไมล์อากาศ-ทะเล เท่ากับ 1.8 กิโลเมตร
    สรุป Knot ก็คือการอ่านค่าความเร็วในการบินของเครื่องบินว่าบินได้ระยะทางเท่าใดใน 1 ชั่วโมง เช่น เครื่องบินบินด้วยความเร็ว 100 Knots ก็คือบินได้ระยะทาง 100 ไมล์/ชั่วโมงนั่นเอง (ไมล์อากาศ-ทะเล)
    อย่าลืม จะไม่มีคำว่า Knot/ชั่วโมงเด็ดขาด เพราะว่าคำว่า Knot จะมีความหมายในตัวมันเองอยู่แล้ว
  54. Demo หมายถึง การสาธิต ….Demo Jump หมายถึง การโดดสาธิตหรือโดดโชว์....Demostration หมายถึงการสาธิต เช่นกัน
  55. Relative Wind หมายถึงลมปะทะหรือลมที่เกี่ยวข้อง หรือ ญาติที่เกี่ยวข้อง
  56. Glide หมายถึง มุมร่อนของร่ม /เครื่องบิน/การร่อน
  57. Glide Ratio หมายถึง อัตราการร่อน เช่น ถ้า ร่มมีอัตราการร่อน 1 :6 ก็คือ การที่ระยะทางที่ร่มร่วงหล่นหรือตกลงระยะทาง 1 ส่วนจะมีระยะทางเดินไปข้างหน้าได้ 6 ส่วน เป็นต้น
  58. Rate of Descent หมายถึง อัตราการตก เช่นการตกหรือร่วงหล่นของร่มกลม หรืออะไรก็ได้ เช่น การตกของวัตถุทั่วไปจะมีอัตรา 32 ฟุต/วินาที เป็นต้น (เกี่ยวข้องกับแรงโน้มถ่วง/ดึงดูดของโลก)
  59. ท่าทางการโดดออกจากเครื่องบิน
    Dive Out หมายถึง การโดดออกจากเครื่องบินโดยการพุ่งหันหน้าออกจากเครื่องบิน
    Back Out หมายถึง การโดดออกจากเครื่องบินโดยการหันหลังออกจากเครื่องบิน
    Unstable Out หมายถึง การโดดออกจากเครื่องบินด้วยท่าอะไรก็ได้ (ไม่มีท่า)
  60. ท่าทางการโดด Free Fall ทั่วไป
    - ท่า Arch หรือ Stable ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ Cross(กากะบาท) และ French Cross (กากะบาทเฉียง)
    - ท่า Frog มี 2 ลักษณะ คือ Frog แคบ และ Frog กว้าง
  61. S.F. ย่อมาจาก Skydiving Formation หรือ แต่ก่อนเรียกว่า Relative Work หมายถึงการโดดร่มแบบเกาะหมู่
  62. C.F. ย่อมาจาก Canopy Formation แต่ก่อนเรียกว่า Canopy Relative Work หมายถึงการโดดร่มแบบต่อร่ม
  63. Accuracy Landing หมายถึงการโดดร่มแบบแม่นยำ บางครั้งเรียกว่าการโดดร่มประเภทคลาสสิค(Classic)
  64. การโดดร่มแบบต่าง ๆ
    Free Fall Style หรือ Style เป็นการแข่งขันโดดร่มประเภท Classic (ดั้งเดิม) คู่กับการแข่งขันประเภทแม่นยำ ซึ่งเป็นการวัดความสามารถและคิดคะแนนจากการใช้อากาศพลศาสตร์ของร่างกาย(Body Aerodynamic) ว่าผู้ใดทำได้เร็วและสมบูรณ์ที่สุดมาเป็นเกณฑ์การตัดสิน เช่น หมุนรอบตัว 360 องศา (ซ้าย-ขวา) แล้วตีลังกาหลังหนึ่งรอบและมุนรอบตัว 360 องศา (ขวา-ซ้าย) อีกครั้ง จะมีทั้งหมด 4 รูปแบบ อยู่ในการแข่งขันแต่ละครั้ง
    Free Style เป็นการโดดคล้ายการเต้นบัลเล่ต์กลางอากาศ
    Sky Surf เป็นการโดดคล้ายการเล่นกระดานโต้คลื่นกลางอากาศ
    Head Down เป็นการโดดแบบเอาหัวลงอย่างเดียวขณะที่ล่วงหล่นอยู่ในอากาศก่อนที่จะเปิดร่มให้กาง
    Swoop Accuracy เป็นการโดดแม่นยำโดยใช้ร่มที่มีอัตราการร่อนสูง (High Speed Parachute)
    Sit Flying เป็นการโดด F/F ซึ่งท่าเคลื่อนใหวไปมาต่างๆจะอยูในลักษณะท่านั่ง
  65. อย่าลืม เกี่ยวกับค่าความสูง ความเร็วลม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการคำนวณต่าง ๆ ในเรื่องการโดดร่มหรือการส่งกำลังทางอากาศ จะเป็นค่าโดยประมาณทั้งสิ้น ซึ่งจะมีค่าแตกต่างจากความเป็นจริงในทางเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ (±) อีกประการหนึ่ง หากลมภาคพื้นดินเกินกว่า 10 Knots แล้ว ไม่เหมาะที่จะทำการโดดร่มหรือส่งทางอากาศ
  66. BASE JUMP หมายถึง การโดดร่มที่ไม่ได้โดดจากเครื่องบินหรือบอลลูนหรืออื่น ๆ ที่บินขึ้นไปเพื่อจุดประสงค์ในการโดดร่ม ซึ่งเป็นคำย่อที่มาจากคำต่อไปนี้
    B มาจากคำว่า Building หมายถึง สิ่งก่อสร้างประเภทตึกสูง
    A มาจากคำว่า Antenna หมายถึง สิ่งก่อสร้างประเภทเสาอากาศหรือเสาวิทยุ หรืออื่น ๆ
    S มาจากคำว่า Span หมายถึง สิ่งก่อสร้างจำพวกสะพานโค้งทั้งหลาย
    E มาจากคำว่า Earth หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติบนพื้นผิวโลก เช่น หน้าผาที่เกิดจากรูปทรงของภูเขา หรือ น้ำตกที่เป็นหน้าผาที่เกิดขึ้นในหลืบของพื้นดินหรือภูเขา
  67. JUMP AND PULL หรือ HOP’ N POP หรือ CLEAR AND PULL หมายถึงการเปิดร่มให้กางทันทีทันใดหลังจากที่โดดพ้นออกจากเครื่องบินซึ่งจะต้องอยู่ในลักษณะที่ร่มจะทำงาน และกางโดยไม่มีปัญหาไปเกี่ยวพันกับส่วนหนึ่งส่วนใดของเครื่องบิน (ภายใน 3 วินาที)
  68. AGL ย่อมาจาก Above Ground Level หมายถึง ระดับเหนือพื้นดิน
  69. ASL ย่อมาจาก Above Sea Level หมายถึง ระดับเหนือพื้นน้ำทะเล
  70. MSL ย่อมาจาก Mean Sea Level หมายถึง ระดับน้ำทะเลปานกลาง (ระดับเฉลี่ย)
  71. GUIDE หมายถึง การนำหรือการชี้แนะ ดังนั้น GUIDE LINE หมายถึง สายบังคับร่ม หรือ CONTROL LINE นั่นเอง
  72. WIND DRIFT INDICATER หรือ WIND STREAMER หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบทิศทางลม กรณีที่ใช้ทิ้งลงมาจากเครื่องบิน ซึ่งตามมาตฐานแล้ว จะเป็นอุปกรณ์ที่ทำด้วยผ้าบางๆ หรือกระดาษ และจะมีขนาดความกว้าง 10 นิ้ว ยาว 20 ฟุต หรือไกล้เคียงกัน ซึ่งเป็นการคำนวณที่มีการทดสอบแล้วว่า อัตราการตกจะใกล้เคียงกับอัตราการตกของร่มมากที่สุด (อ้างอิงจาก หนังสือ PARACHUTING THE SKYDIVER ’S HAND BOOK P.170)
  73. LIEFT CIRCUIT LANDING (บังคับร่มวงจรซ้าย) หมายถึง การบังคับร่มลงพื้นด้วยรูปแบบวงจรซ้าย ซึ่งหมายถึง ขณะทำ DOWN WIND LEG นั้นที่หมายจะอยู่ด้านซ้าย และเมื่อทำ BASE LEG แล้ว จะหันหน้าทวนลมลงพื้นนั่นเอง (สำคัญอย่ายิ่งหากมีจำนวนนักโดดเป็นจำนวนมากที่ต้องลงพื้นในพื้นที่เดียวกัน)
  74. RIGHT CIRCUIT LANDING (บังคับร่มวงจรขวา) ความหมาย เช่นเดียวกับ ข้อ 73. ยกเว้นคำว่าซ้ายก็เปลี่ยนเป็นขวาเท่านั้น